กฎหมายเกี่ยวกับกัญชาที่ประชาชนไทยต้องรู้
กฎหมายเกี่ยวกับกัญชาที่ประชาชนไทยต้องรู้ การปลดล็อคกัญชาซึ่งนับว่าเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณให้คุณประโยชน์หลากหลายทางการแพทย์ และเป็นพืชอันมีมูลค่าซึ่งเป็นผลโดยตรงทางเศรษฐกิจของประเทศ กัญชาจึงได้รับการยกเว้นไม่ถือว่าเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ตามมาตรา 29 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564 บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป แต่เนื่องจากกัญชามีสาร THC ซึ่งเป็นสารเสพติดซึ่งไม่ได้รับการยกเว้น ทนายขอสรุปประเด็นเกี่ยวกับกัญชาที่ควรต้องรู้ทางกฎหมาย 8 เรื่อง ดังนี้
1. สามารถปลูกกัญชาที่บ้านที่มีรั้วรอบขอบชิดได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต
2. การครอบครองกัญชาไม่มีความผิด
3. สูบกัญชาไม่ถือว่าผิดกฎหมายแต่การสูบกัญชาต้องอยู่ในการควบคุมซึ่งมีข้อกำหนด
4. ขายกัญชาไม่ต้องขออนุญาต
5. กัญชาที่นำมาประกอบอาหารต้องได้รับอนุญาตให้ผลิตในประเทศเท่านั้น
6. ร้านอาหารสามารถนำใบกัญชามาปรุงอาหารขายได้
7. การนำกัญชามาใช้ผลิตอาหารเพื่อจำหน่ายได้
8. ไม่สามารถนำเข้าสารสกัดกัญชาจากต่างประเทศได้
กัญชา (cannabis sativa)
พืชกัญชาชนิด cannabis sativa เป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้า ต้นสูงประมาณ 2-4 ฟุต ใบแตกเป็นแฉกคล้ายใบสัมปะหลังหรือใบละหุ่ง ริมใบทุกแฉกมีลักษณะเป็นจักๆ ใบหนึ่งมีราว 5-8 แฉก ในก้านเดียวกัน ออกดอกตามง่ามกิ่งก้าน จัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522
ในกัญชามีสารเคมี cannabinoids อยู่จำนวนหนึ่ง โดยสารสำคัญในกลุ่มนี้ที่เชื่อว่าออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท คือ d9- tetrahydrocannabinol (thc) และสารดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่มวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในประเภท 1 ตาม พระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 การค้นคว้าเกี่ยวกับฤทธิ์ของ thc นำไปสู่การผลิตยา dronabinol (marinol) ซึ่งมีส่วนผสมของ thc สำหรับใช้ในผู้ป่วยมะเร็งที่รักษาด้วยวิธีเคมีบำบัดเพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียน และทำให้เพิ่มความอยากอาหารในผู้ป่วยเอดส์